วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ อุดฟันแบบไหนดี | Zenyum TH

20 มกราคม 2022

               การถอนฟันไม่ใช่ทางออกเสมอไปสำหรับคนที่ฟันผุ เพราะหากฟันซี่ที่ผุนั้นถูกทำลายไปไม่มาก เพียงแค่การอุดฟันก็ช่วยได้แล้ว การอุดฟันสามารถรักษาฟันแท้ของเราที่ถูกทำลายจากการผุให้สามารถใช้งานได้และกลับมารูปร่างเหมือนปกติอีกด้วย แต่ในปัจจุบันการอุดฟันก็มีด้วยกันหลายแบบ หากเพื่อนๆมีปัญหาเรื่องฟันผุจะเลือกอุดฟันอย่างไรดี วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมข้อดี ข้อเสียของการอุดฟันแต่ละแบบมาฝากกันค่ะ

               การอุดฟัน หรือ tooth filling คือการรักษาฟันผุที่มีลักษณะเป็นรูชัดเจน หรือฟันที่ถูกทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น โดยอาการเหล่านี้จะนำมาซึ่งปัญหาของการใช้ฟันเคี้ยวอาหาร และจะมีผลทำให้เกิดการลุกลามเสียหายของฟันมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้การอุดฟันยังถือเป็นการช่วยป้องกันการเสียหายที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย เพราะเมื่อทำการอุดฟันแล้วก็ถือว่าเราทำการปิดช่องทางที่แบคทีเรียจะสามารถเข้าไปได้โดยปริยาย ดังนั้นการอุดฟันถือเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ฟันกลับมาสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

เลือกอุดฟันแบบไหนดี

ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า การอุดฟันนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ แบ่งออกตามวัสดุอุดฟัน ดังนี้

1. อุดฟันสีเทาหรือเงินด้วย อมัลกัม (Amalgam)

ทันตแพทย์จะนำวัสดุอุดฟันที่ทำจากโลหะปรอท เงิน ซึ่งจะมีสีเทาเงิน ใส่เข้าไปในโพรงฟัน และอัดให้แน่น และอุดรูที่พุให้เต็ม พร้อมทั้งตกแต่งรูปร่างของวัสดุให้ใกล้เคียงกับรูปร่างของฟันให้มากที่สุด การอุดฟันสีเทานี้ส่วนมากทันตแพทย์มักใช้ในการอุดฟันหลัง เช่น ฟันกรามเเละฟันกรามน้อย เพราะมีความเเข็งเเรง ทนทานต่อเเรงบดเคี้ยวได้ดี

ข้อดีของการอุดฟันสีเทา

  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปี 
  • มีความแข็งแรงสูง สามารถรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี
  • มีราคาถูกกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

2. อุดฟันสีเดียวกับฟันหรือเรซินคอมโพสิต (Composite Resin)

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเดียวกับฟันนั้นให้ความเป็นธรรมชาติมากกว่าการอุดฟันสีเทา แต่ก็มีวิธีขั้นตอนในการอุด และราคาที่ต้องจ่ายมากกว่าเช่นกัน เพราะหลังจากที่ทันตแพทย์ทำการอุดฟันเรียบร้อยเเล้ว จำเป็นต้องรอจนกว่าวัสดุจะแข็งตัวให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มทำการจัดแต่งอีกครั้งเพื่อความสวยงามได้ นิยมใช้อุดบริเวณฟันหน้าที่เห็นได้ชัดเพื่อความสวยงาม

ข้อดีของการอุดฟันสีเดียวกับฟัน

  • ให้ผลลัพธ์ที่สวยกว่าเพราะสามารถเลือกสีที่เหมือนฟันได้ทำให้ดูไม่ออกว่าอุดฟัน 
  • ใช้อุดฟันได้หลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะฟันผุ ฟันที่บิ่นหรือฟันแตกก็ตาม
  • สูญเสียเนื้อฟันน้อยกว่าการอุดฟันสีเทาเพราะไม่จำเป็นต้องกรอฟันมาก

อุดฟันมีขั้นตอนอย่างไร

  1. ทันตแพทย์จะประเมินการรักษาก่อนว่าสามารถใช้การอุดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาได้หรือไม่
  2. ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันที่มีการติดเชื้อออก โดยส่วนมากจะมีการฉีดยาชาเข้าร่วม เพื่อป้องกันอาการปวดหรือเสียวฟัน 
  3. ทันตแพทย์จะใส่วัสดุรองพื้น ช่วยลดการเสียวฟัน
  4. ทันตแพทย์ทำการอุดฟันด้วยวัสดุที่เลือกใช้ในการอุดฟัน

หลังอุดฟันเสร็จแล้วเป็นอย่างไร

เมื่อทันตแพทย์ทำการอุดฟันให้เรียบร้อยแล้ว หลายคนคงมีคำถามว่าอุดฟันเจ็บไหม คำตอบก็คืออาจมีอาการเสียวฟันได้บ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะอาการนี้สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือบางคนก็อาจมีอาการปวดฟันได้เช่นกัน ซึ่งหากปวดมากก็สามารถทานยาระงับอาการปวดได้แต่หากอาการไม่ทุเลาลงหรือมีอาการผิดปกจะต้องกลับไปพบแพทย์โดยด่วน

เตรียมตัวจัดฟันจำเป็นต้องอุดฟันหรือไม่

ก่อนที่เราจะเริ่มทำการจัดฟัน ทุกคนจำต้องทำการเคลียช่องปากก่อนเสมอ และในขั้นตอนนั้นเอง ทันตแพทย์ก็จะช่วยตรวจเช็คสุขภาพช่องปากของเราว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ และถ้าพบว่ามีอาการฟันผุอยู่ละก็ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอุดฟันให้เรียบร้อยก่อนเริ่มทำการจัดฟัน

การอุดฟันเป็นการรักษาอาการฟันผุ ฟันแตก ได้โดยที่เรายังคงเก็บฟันแท้ๆของเราไว้ได้อยู่ ด้วยการใช้วัสดุอุดฟันมาเติมเต็มเนื้อฟันส่วนที่ขาดหายไปไม่ว่าจะเป็นวัสดุสีเทาเงินหรือวัสดุสีเดียวกับฟันก็ตาม

 

การอุดฟันทั้งสองแบบนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป เช่น การอุดฟันสีเดียวกับฟันก็จะเหมาะกับฟันที่เห็นได้ชัดแต่ราคาและข้อที่ต้องระวังก็มีมากกว่าการอุดฟันสีเทาเงิน และการอุดฟันสีเทาเงินนั้นก็ให้ความแข็งแรงทนทานที่มากกว่าการอุดฟันสีเดียวกับฟัน อย่างไรก็ดีการที่จะชี้ว่าอุดฟันแบบไหนดีนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ควบคู่กันไปเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องนะคะ

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!