ไขข้อข้องใจ จัดฟันทำให้โครงหน้าเปลี่ยนได้จริงหรือไม่?

9 มีนาคม 2023

หลายคนกำลังตัดสินใจจัดฟัน แต่ก็ยังมีความกังวลไม่น้อยว่า การจัดฟันนั้นจะทำให้รูปหน้าเราเปลี่ยนหรือเปล่าหลายคนน่าจะคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “จัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยน จมูกโด่งขึ้น หน้าเรียวขึ้น” จึงเป็นสาเหตุทำให้หลายๆ คนอยากจัดฟันกันมากขึ้นเพราะ เชื่อว่าจะได้รูปหน้าที่สวยขึ้นโดยไม่ต้องไปทำศัลยกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นมาแล้วจากคนรอบข้างใช่ไหมล่ะ ว่าทำไมหลังจากจัดฟันเสร็จหลายๆ คนหน้าถึงเปลี่ยนนะ และทำไมบางคนหน้าไม่เปลี่ยนเลย

วันนี้เซนยุมนำคำตอบจาก คุณหมอเฟย หรือ ทพ. จิรภัทร เจตน์พิพัฒนพงษ์ มาฝากค่ะ คุณหมอประจำอยู่ที่ ด้วยรักคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในคลินิกพาร์ทเนอร์ของเซนยุมด้วย

จัดฟันทำให้โครงหน้าเปลี่ยนได้จริงหรือไม่ ?

คำตอบ คือ ทั้งใช่และไม่ใช่ เวลาที่คนไข้จัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจะมีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางอย่างที่ทำให้เกิดการยื่นยาว (extrude) เพิ่มขึ้นของซี่ฟัน ซึ่งส่งผลโดยอ้อมทำให้เกิดการหมุนไปข้างหลังและลงข้างล่าง (downward and backward) ของขากรรไกรล่าง ดังนั้นใบหน้าจะมีลักษณะยาวขึ้นเล็กน้อย อาจจะเรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปหน้า หรือในคนไข้บางคนอาจมีคนทักว่าหน้าเรียว/ยาวขึ้น

    นอกจากนี้ในคนไข้ที่มีการถอนฟันเพื่อการจัดฟัน โดยเฉพาะคนไข้ที่มีลักษณะฟันยื่นตั้งแต่เริ่ม หลังจากจัดฟัน ริมฝีปากจะเกิดการถอยเข้าไปตามฟันหน้าที่ถูกดึงเข้า  ทำให้อาจเห็นว่าหน้าอูมลดลง จมูกดูโด่งขึ้น คางเด่นขึ้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดชัดเจนในคนไข้ทุกคน   หรืออาจเกิดเพียงเล็กน้อยมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) เช่น ริมฝีปาก ที่แตกต่างกันในแต่บุคคล เพราะฉะนั้นการที่อยากจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใบหน้าจึงไม่ควรจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนไข้ตัดสินใจมาจัดฟัน แต่อาจเป็น การที่ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ มีการสบฟันที่ผิดปกติในรูปแบบต่างๆ ทำให้ดูแลรักษาความสะอาดได้ยาก หรือ เกิดความไม่มั่นใจในการเข้าสังคม จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ 

เมื่อรู้แล้วว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้หน้าเรียว จมูกโด่งหลังจัดฟัน แต่จะมีกรณีไหนบ้างที่อาจทำให้หน้าเปลี่ยน เรามาดูกันค่ะ

  1. กรณีฟันล่างครอบฟันบน (Underbite) เมื่อฟันล่างยื่นออกมามากจนเลยฟันหน้า ทำให้คางยื่น กรณีแบบนี้ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการจัดฟันได้อย่างชัดเจน 
  2. กรณีฟันบนครอบฟันล่าง (Overbite) เมื่อฟันบนยื่นออกมามากจนครอบฟันล่าง หลังการจัดฟันแล้ว ขากรรไกรสบกันในตำแหน่งที่เหมาะสม รูปหน้าและขากรรไกรก็จะสวยขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน
  3. กรณีฟันสบเปิด (Open Bite) เป็นลักษณะของฟันบนและฟันล่างไม่สบกัน ทำให้รูปหน้ายาวผิดปกติ อีกทั้งยังทำให้การพูดและการรับประทานอาหารไม่ปกติ เมื่อจัดฟันแล้วรูปหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
  4. กรณีต้องผ่าตัดขากรรไกร คนที่มีปัญหามาก ๆ จากที่ขากรรไกรเคยยื่นทำให้ฟันไม่สบกัน แน่นอนว่าหลังการผ่าตัดขากรรไกร ก็จะเล็กลง ส่งผลให้รูปหน้าดูเปลี่ยนไปนั่นเอง

ส่วนกรณีอื่นๆ เช่น ฟันสบคร่อม ฟันซ้อนเก ก็มีผลต่อรูปหน้าเช่นกัน แต่มีผลน้อยกว่า การจัดฟันจะช่วยปรับรูปหน้าให้ดีขึ้นได้เช่นกัน แต่อาจจะไม่ได้เห็นชัดเท่ากรณีที่กล่าวมา

การที่ใบหน้าเกิดความเปลี่ยนแปลงหลังการจัดฟัน เรียกได้ว่าเป็น ผลพลอยได้ ที่มาจากการเคลื่อนที่ของฟันมากกว่าจะเป็นสิ่งที่นำมาคาดหวังเป็นผลลัพธ์หลักของการจัดฟัน   หากคนไข้อยากมีใบหน้าวีเชฟหรือต้องการลดความเหลี่ยมของมุมกราม  การจัดฟันอาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมด  ควรลองศึกษาการฉีดโบท๊อกซ์หรือการทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงามอื่น (plastic surgery) ร่วมด้วย

สำหรับคนที่มีความกังวลใจ และไม่มั่นใจในรอยยิ้ม และมีแพลนที่จะจัดฟันอยู่แล้ว สามารถทำการประเมินกับเซนยุมก่อนได้นะคะ เพื่อดูว่าเราเหมาะสมกับการจัดฟันใสกับเซนยุมหรือไม่ 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.amaesthetics.com.sg/face-sculpting/chin-fillers/
13104741่

บทความโดย

คุณหมอเฟย ทพ. จิรภัทร เจตน์พิพัฒนพงษ์
จากด้วยรักคลินิกทันตกรรม
หนึ่งในคลินิกพาร์ทเนอร์กับเซนยุม

13104741่

บทความโดย

ทพ. จิรภัทร เจตน์พิพัฒนพงษ์ หรือ คุณหมอเฟย
จากด้วยรักคลินิกทันตกรรม หนึ่งในคลินิกพาร์ทเนอร์กับเซนยุม

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!