ฟันแบบไหนควรจัดฟันด่วนๆ | ZenyumTH

4 มีนาคม 2022

การจัดฟันเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากการจัดฟันช่วยแก้ไขการเรียงตัวที่ผิดปกติของฟันซึ่งนั้นก็ส่งผลให้เรามีรอยยิ้มที่สวยงาม ฟันสบกันพอดี และยังมีผลพลอยได้ให้รูปหน้าสวยขึ้นอีกด้วย สร้างความมั่นใจและเพิ่มโอกาสใหม่ๆในชีวิตได้ไม่น้อยเลย แต่..เราจำเป็นต้องจัดฟันทุกคนหรือไม่เพื่อให้รูปหน้าดูสวยขึ้น คำตอบคือไม่จำเป็นค่ะ หากฟันของเราไม่ได้ผิดปกติอะไรก็ไม่มีความจำเป็นต้องจัดฟันเพื่อให้หน้าเปลี่ยนค่ะ แต่ฟันแบบไหนควรจัดฟันด่วนๆบ้างนั้น เราลองไปตรวจสอบตัวเองกันดูเลยค่ะ

ฟันแบบไหนสวยแล้วที่ไม่จำเป็นต้องจัดฟัน

ลักษณะฟันที่ฟันที่ถือว่าสวยแล้วไม่จำเป็นต้องจัดฟันเพิ่ม จะต้องเป็นฟันที่เรียงตัวกันชิดไม่มีช่องหรือพื้นที่ระหว่างฟันแต่ละซี่ รวมไปถึงการเรียงตัวของฟันที่เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อกัดฟันฟันบนจะคร่อมฟันล่าโดยรอบ ฟันหน้าด้านบนจะยื่นออกจากฟันหน้าด้านล่างเล็กน้อยเพียง 1 มิลลิเมตร และปลายฟันหน้าบนจะต้องครอบปลายฟันหน้าล่างลึกประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น

ฟันแบบไหนควรจัดฟัน

ลักษณะฟันที่ควรจัดฟันคือคนที่ปัญหาฟันไม่สวย ฟันหน้ายื่น ฟันซ้อน ฟันเก ฟันสบผิดปกติ ยิ้มไม่มั่นใจ ส่งผลให้ยากต่อการทำความสะอาด และทำให้เกิดฟันผุ เป็นโรคเหงือกได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ฟันที่สบกันไม่สนิทจะทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อีกทั้งยังเป็นปัญหาเกี่ยวกับการพูดที่เกิดจากการสบของฟันอีกด้วย ลองสำรวจว่าเพื่อนๆเข้าข่ายลักษณะฟันที่ควรจัดฟันแล้วหรือยัง ดังนี้

1. มีฟันห่าง

ฟันห่าง

ลักษณะของคนที่มีฟันห่าง จะมีช่องว่างระหว่างฟันจนอาจจะเป็นรู หากปล่อยเอาไว้แบบนี้ นอกจากจะทำให้เสียความมั่นใจ เสียบุคลิกแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการกัดและเคี้ยวอาหาร มักมีเศษอาหารติดฟันได้ง่าย และในระยะยาวอาจทำให้ฟันซี่ข้างๆ โน้มเอียงเข้าไปหาช่องว่างนั้นมากขึ้นๆได้อีกด้วย

2. มีฟันซ้อนเก

ฟันซ้อนเก

ลักษณะของคนที่มีฟันซ้อนหรือฟันเกนั้นจะเห็นได้ชัดเจนเช่นกัน เพราะฟันจะดูเยอะ ไม่เรียงสวยดูเป็นคลื่น ส่งผลทำให้รอยยิ้มไม่สวย มีเศษอาหารเข้าไปติดง่าย ทำให้เกิดหินปูนขึ้นไว เสี่ยงต่อเหงือกอักเสบ กลิ่นปาก และฟันผุได้ง่ายกว่าฟันปกติ

3. มีฟันบนยื่น

ฟันบนยื่น

ลักษณะของคนที่มีฟันบนยื่นหรือหลายๆคนอาจจะเรียกว่าฟันเหยินก็เป็นได้ หากนึกภาพไม่ออกให้ลองถึงแก้วหน้าม้าดูนะคะ ซึ่งคนที่ฟันลักษณะนี้คงจะเข้าใจเป็นอย่างดีเพราะอาจจะโดนล้อเป็นประจำ ทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เลย สามารถแก้ไขได้โดยการจัดฟัน

4. มีฟันล่างยื่น

ฟันล่างยื่น

ลักษณะของคนที่มีล่างยื่นจะส่งผลให้มีคางยื่นออกมามากกว่าคนปกติ เพราะฟันล่างยื่นออกมาสบคร่อมกับฟันบน หรือปลายฟันล่างกัดชนกับปลายฟันบน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันล่างและฟันบน ส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และในบางคนอาจเป็นเหตุทำให้นอนกัดฟันได้

5. มีฟันสบเปิด

ฟันสบเปิด

ลักษณะของคนที่มีล่างยื่นจะส่งผลให้มีคางยื่นออกมามากกว่าคนปกติ เพราะฟันล่างยื่นออกมาสบคร่อมกับฟันบน หรือปลายฟันล่างกัดชนกับปลายฟันบน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันล่างและฟันบน ส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และในบางคนอาจเป็นเหตุทำให้นอนกัดฟันได้

6. ฟันกัดเบี้ยว

ฟันกัดเบี้ยว

ลักษณะของคนที่มีฟันกัดเบี้ยวหรือฟันบนและฟันล่างสบกันไม่พอดี ทำให้เวลากัดฟันจะเห็นว่าฟันเยื้องหรือฟันดูเหลื่อมกัน ส่งผลต่อความสวยงามและการบดเคี้ยวอาหาร สามารถแก้ไขได้โดยการจัดฟัน

อยากจัดฟันแต่ไม่อยากใส่เหล็กทำไงดี

หากอยากจัดฟันแต่ไม่อยากติดอุปกรณ์ลวดเหล็กละก็เพื่อนๆสามารถเลือกจัดฟันใสได้ การจัดฟันใสก็สามารถให้ผลลัพธ์ดีได้ไม่แพ้การจัดฟันแบบลวดเหล็กเลยค่ะ และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก ดารา นักแสดงหรือคนวัยทำงานมักจะเลือกใช้กัน เพราะนอกจากจะมองไม่เห็นอุปกรณ์จัดฟันแล้วนั้น ยังดูแลง่าย ไม่ต้องเข้าพบทันตแพทย์บ่อยๆอีกด้วย

สุดท้ายนี้หากเพื่อนๆสำรวจตัวเองแล้ว เห็นข้อเปรียบเทียบระหว่างฟันที่ปกติกับฟันที่ปกติแต่ละแบบแล้ว เพื่อนๆคงรู้แล้วว่าฟันแบบไหนควรจัดฟันบ้าง เพราะการจัดฟันนับได้ว่ามีส่วนช่วยให้ฟันนั้นมีการเรียงตัวที่เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องของภาพลักษณ์และความมั่นใจอีกด้วย หากเพื่อนๆยังไม่มั่นใจในการประเมินลักษณะฟันของตัวเองอีกละก็ ไม่ต้องกังวลไปสามารถรับคำปรึกษากับเซนยุมเพื่อทำการประเมินฟันได้เลย ฟรีๆ!

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!