การขูดหินปูนไม่น่ากลัวอย่างที่คิด | ZenyumTH

15 กรกฎาคม 2022

เคยหรือไม่? เจอใครก็ไม่กล้ายิ้มทักทายทั้งที่ใจจริงก็อยากยิ้มให้แถบตาย แต่…ติดตรงที่ว่าดันมีฟันเหลืองและมีกลิ่นปากจนไม่มั่นใจ ซึ่งเพื่อนๆเองคงเดาได้อยู่แล้วว่าสาเหตุหลักๆนั้นมาจากคราบหินปูนที่เกาะอยู่นั้นเอง แต่คราบหินปูนคืออะไรกันแน่ แล้วจะมีวิธีแก้ไขไหมอย่างไร วันนี้เราไปทำความรู้จักคราบหินปูนและการกำจัดออกด้วยการขูดหินปูนพร้อมๆกันเลยค่ะ

คราบหินปูนคืออะไร

คราบหินปูนเกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มาจากเศษอาหาร หรือคราบโปรตีนที่ยังหลงเหลืออยู่ในปาก หรืออีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดคราบหินปูนนี้ก็คือเกิดจากการที่เราแปรงฟันไม่ถูกวิธีหรือแปรงฟันไม่สะอาดนั่นเอง โดยส่วนมากนั้นคราบหินปูนมักจะติดอยู่ตามซอกฟันซอกเหงือก หรือขอบฟัน เป็นต้น  ซึ่งถ้ามีคราบหินปูนเกาะฟันนานจนเริ่มมีความแข็งหรือเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงสีน้ำตาลแล้วละก็ จะต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดหินปูนออกเท่านั้น

ขูดหินปูน

การขูดหินปูน หรือ Dental Scaling ถือเป็นวิธีในการกำจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามบริเวณฟันและซอกฟัน โดยจะทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และมีข้อดีมากมาย ดังนี้

  1. ขูดหินปูนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ รากฟันอักเสบ 
  2. ขูดหินปูนช่วยเพิ่มความมั่นใจและช่วยบุคลิกของเราให้ดีขึ้น 
  3. ขูดหินปูนช่วยยืดระยะเวลาและอายุของฟันให้อยู่กับเราได้นานขึ้น
  4. ขูดหินปูนช่วยให้เคี้ยวอาหารได้อย่างมั่นใจ จะทานอะไรก็ได้เพราะฟันของเรามีความแข็งแรงมากขึ้น
  5. ขูดหินปูนช่วยลดโอกาสการเกิดฟันผุหรือเหงือกร่นได้อย่างดี

ขูดหินปูนก่อนจัดฟัน

หลายคนเมื่อตัดสินใจเข้ารับการจัดฟัน จะต้องผ่านขั้นตอนการขูดหินปูนก่อนเป็นแน่ นั้นก็เพราะว่าการขูดหินปูนเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเคลียร์ช่องปาก เพราะช่วยทำความสะอาดฟันอย่างล้ำลึก ขจัดแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียในช่องปาก  เมื่อเราใส่อุปกรณ์จัดฟันจะได้มั่นใจว่าฟันของเราอยู่ในสภาพที่สะอาดและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาระหว่างการจัดฟัน

คำถามการขูดหินปูนที่พบบ่อย

ขูดหินปูนครั้งแรกต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

สำหรับใครที่ไม่เคยขูดหินปูนมาก่อน และกำลังจะเข้ารับการขูดหินปูนครั้งแรกละก็ ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลเลยค่ะ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีโรคประจำตัว เพียงแค่เตรียมตัวหาคลินิคที่น่าเชื่อถือ เช็คค่าบริการและสิทธิประกันต่างๆที่อาจจะสามารถทำเบิกค่าขูดหินปูนได้ แต่สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคร้ายแรงต่างๆอาจจะต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเข้ารับบริการค่ะ

ขูดหินปูน เจ็บหรือไม่?

การขูดหินปูนโดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่มีอาการเจ็บ แต่จะมีเพียงอาการเสียวฟันบ้างเท่านั้น หรือในบางคนอาจมีอาการลือดออกขณะขูดหินปูนก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้และสามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากหลังขูดหินปูนแล้วเลือดยังไม่หยุดไหลก็ควรรีบไปปรึกษาทันแพทย์ทันที

คนที่ห้ามขูดหินปูน?

การขูดหินปูนก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคนไปหมดนะคะ ถ้าเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงเช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวาย โรคลูคีเมีย โรคตับก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจากการเกิดหินปูนได้ นอกจากนี้คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจก็ไม่ควรขูดหินปูนเช่นกัน เนื่องจากคลื่นความถี่จากเครื่องมือแพทย์ อาจจะไปส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้ทำงานผิดปกติได้ สำหรับสตรีมีครรภ์สามารถขูดหินปูนได้ แต่หากมีอายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์

ต้องขูดหินปูนบ่อยแค่ไหน?

การขูดหินปูนควรทำอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้วควรกลับไปขูดหินปูนอีกครั้งภายใน 5 – 6 เดือน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี แต่ถ้าหากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากก็ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะเพิ่มความถี่ในการเข้าพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนได้เป็นทุกๆ 3 – 4 เดือน

 

การขูดหินปูนเป็นการทำความสะอาดฟันด้วยเครื่องมือจากทันตแพทย์ ไม่สามารถทำได้เองที่บ้าน การขูดหินปูนช่วยขจัดคราบพลัคที่ก่อตัวจนกลายเป็นหินปูน นอกจากนี้หากเพื่อนๆคนไหนวางแผนจัดฟันละก็คงหลีกเลี่ยงการขูดหินปูนไม่ได้แน่ๆ เพราะการขูดหินปูนยังเป็นส่วนหนึ่งของการเคลียร์ช่องปากสำหรับคนที่วางแผนจัดฟันอีกด้วย สุดท้ายนี้เพื่อนๆคงเห็นแล้วว่าการขูดหินปูนไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเลย เตรียมตัวให้พร้อม แล้วกลับมามั่นใจอีกครั้งด้วยรอยยิ้มที่ขาวสะอาดกันนะคะ

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!