กลิ่นปากมาจากไหน?

1 กุมภาพันธ์ 2023

ผู้หญิงเอามือปิดปาก

หลายคนคงจะเคยประสบปัญหาเรื่องการมีกลิ่นปาก บางคนอาจจะทราบสาเหตุ ตัวอย่างเช่น เพิ่งไปทานอาหารจำพวกเครื่องเทศมา เป็นต้น แต่บางคน อยู่เฉยๆ ก็มีกลิ่นปาก หลายคนก็คงอยากทราบว่ากลิ่นปากเกิดมาได้อย่างไร และจำมีวิธีกำจัดกลิ่นปาก หรือวิธีแก้การมีกลิ่นปากได้อย่างไร

สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก

กลิ่นปากนั้นมีสาเหตุมาได้จากหลายปัจจัย ซึ่งแต่ละคนก็จะมีปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดกลิ่นปากที่แตกต่างกันไป อย่างแรกเลย คือ

  1. การทำความสะอาดช่องปากอาจจะยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มีเศษอาหารหมักหมมอยู่ตามซอกฟัน หรือบริเวณด้านประชิดของฟัน เมื่อเศษอาหารหมักหมมเป็นเวลานาน ก็จะเกิดการเน่าเสีย ก็ส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้
  2. ประการต่อมาที่เป็นผลจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึงก็คือการเกิดหินปูน หินปูนนี้จะทำให้เชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเกาะได้ดียิ่งขึ้น เมื่อแบคทีเรียมากขึ้น ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานในการมีชีวิตอยู่ แบคทีเรียเหล่านี้จึงไปย่อยเศษอาหารที่เราทานเข้าไปแล้วตกค้างอยู่ในช่องปาก เกิดการเน่าเสีย ก็ส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน
  3. และที่หลายคนอาจจะมองข้ามไปก็คือ การมีฟันผุในช่องปาก เนื่องจากฟันผุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปย่อยฟันของเรา เช่นเดียวกับการย่อยอาหารอื่นๆ บางคนคิดว่าเห็นเป็นเพียงจุดดำเล็กๆ ไม่มีอาการอะไร ก็ชะล่าใจไม่ไปพบทันตแพทย์ แต่หารู้ไม่ว่า การที่เราเห็นบนผิวฟันเป็นจุดดำเล็กๆนั้น ด้านในอาจจะถูกย่อยเป็นโพรงใหญ่แล้วก็ได้ ซึ่งด้านในโพรงนั้นก็จะเป็นเนื้อฟันของเราที่เน่าเสียอยู่ ก็ส่งผลให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน
  4. ประการต่อมาที่คนอาจจะไม่รู้คือลิ้น ลิ้นของคนเราไม่เป็นกัน บางคนมีล่องที่ลิ้นค่อนข้างลึก บางคนมีเพียงตื้นๆ แต่ถ้าลองสังเกตดีๆ สิ่งที่ทุกคนจะมีแหมือนกัน คือ ลิ้นจะเป็นตุ่มเล็กๆ ลักษณะคล้ายตุ่มหรือบางคนอาจจะมองเป็นขนก็ได้ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นจุดที่กักเก็บเศษอาหาร และแบคทีเรียสามารถจะไปย่อยเศษอาหารบริเวณนี้ได้ด้วย ส่งผลให้มีกลิ่นปากเกิดขึ้น ยิ่งคนไหนที่มีลิ้นเป็นลักษณะล่องลึกแล้วละก็ จะทำให้เศษอาหารหมักหมมได้ง่ายขึ้นไปอีกด้วย

เท่านั้นยังไม่พอ อาหารที่เรารับประทานเข้าไปก็มีส่วนที่ทำให้เกิดกลิ่นปากจากช่องคอได้เช่นกัน รวมไปถึงกรรมพันธุ์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดกลิ่นปากได้ นอกจากสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นปากแล้ว ยังอาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้อีก

วิธีแก้กลิ่นปาก หรือวิธีรักษากลิ่นปาก

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็พอจะเดาได้ว่าการแก้กลิ่นปากนั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่ทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดและทั่วถึงก็จะสามารถลดการเกิดกลิ่นปากได้แล้ว

 

Girl brushing her teeth with ZenyumSonic Electric Toothbrush
แปรงสีฟันไฟฟ้า ZenyumSonic

วิธีการทำความสะอาดช่องปากที่ทราบกันดีอยู่แล้วก็คือ การแปรงฟัน คนไหนที่รู้สึกว่าแปรงฟันไม่ค่อยสะอาด ก็อาจจะเพิ่มเวลาแปรงฟันให้นานขึ้น เพราะการเพิ่งระยะเวลาในการแปรงฟันนั้น ก็จะช่วยเพิ่งโอกาสที่ขนแปรงจะสัมผัสกับผิวฟันมากขึ้น โอกาสที่ฟันจะสะอาดก็จะมากขึ้นไปด้วย สิ่งสำคัญที่คนมักจะมองข้ามก็คือ การใช้ไหมขัดฟัน เนื่องจากฟันของเรามีลักษณะเป็นซี่ๆ มีด้านที่ฟันติดกัน ซึ่งขนของแปรงสีฟันไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดส่วนนั้นได้ การใช้ไหมขัดฟันจึงมีความจำเป็นเช่นเดียวกับการใช้แปรงสีฟันแปรงฟันของเรานั่นเอง นอกจากนี้การแปรงลิ้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำและคนมักจะมองข้าม แต่จริงๆ แล้วการแปรงลิ้นเป็นการแปรงที่ง่ายมาก และทุกคนสามารถทำได้อยู่แล้ว เพียงทำความสะอาดช่องปากเพียงเท่านี้ก็จะทำให้กลิ่นปากของทุกคนลดลงอย่างแน่นอน หรือบางคนอาจจะไม่มีกลิ่นปากเลยด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม การพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนหรือหินน้ำลายทุกหกเดือน หรือหนึ่งปี ก็เป็นสิ่งที่ยังคงแนะนำ เนื่องจากอย่างที่กล่าวมาข้างต้น หินน้ำลายหรือหินปูนเหล่านี้จะเป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย ทำให้มีกลิ่นปากตามมาได้

ถ้าใครมีความกังวลว่าตัวเองปากเหม็น ตัวเองมีกลิ่นปาก ก็แนะนำให้เข้าไปปรึกษาทันตแพทย์เบื่องต้น เพื่อตรวจดูว่ากลิ่นปากของเรานั้นเกิดมาจากสาเหตุอะไร และจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร เพียงเท่านี้ทุกคนก็จะไม่มีกลิ่นปาก ปากไม่เหม็นกันแล้วครับ

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!