Zenyum ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในรายงาน ‘Emerging Giants in Asia Pacific’ ของ KPMG และ HSBC

คุณอาจเคยได้ยินหรือไม่เคยได้ยิน แต่ Zenyum ได้รับการพูดถึงในรายงานการศึกษาร่วมกันเรื่อง ‘Emerging Giants in Asia Pacific’ ของ KPMG และ HSBC หากคุณไม่ใช่คนที่ติดตามข่าวธุรกิจ – KPMG เป็นองค์กรระดับโลกเป็นมืออาชีพที่ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ภาษี และเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ในรายงานของของ KPMG และ HSBC พวกเขาได้สัมภาษณ์ Julian Artopé ซึ่งเป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งของ Zenyum เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zenyum นี่คือตัวอย่างคำถาม: ชื่อแบรนด์ Zenyum มาจากไหน? คำว่า ‘senyum’ หมายถึง ‘รอยยิ้ม’ ในภาษา Bahasa ซึ่งเป็นภาษาของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เราเพิ่ม ‘Z’ เพื่อทำให้แบรนด์ดูอ่อนเยาว์และโดดเด่น! อะไรคือความแตกต่างของ Zenyum กับแบรนด์คู่แข่ง?​ เรามักจะมีราคาย่อมเยามากกว่าแบรนด์ใหญ่ของสหรัฐฯ และเรามีรูปแบบการผ่อนชำระให้กับลูกค้า  ผลิตภัณฑ์ของเราออกแบบมาสำหรับลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรามุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่สามารถคาดการณ์ได้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไร?​ […]

IPR คืออะไร เจ็บไหมและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ภาพฟัน

หลายๆ คนไหนคงเคยได้ยิน การทำ IPR (Interproximal Reduction) ก่อน ทำการ จัดฟันใส มาอยู่บ้างแล้ว แต่มีใครทราบไหมว่า การทำ IPR คืออะไร ทำแล้วเจ็บไหม และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับ เทคนิค IPR (Interproximal Reduction) กันค่ะ IPR คืออะไร IPR (Interproximal reduction) คือ การลดขนาดของฟันด้านประชิด เป็นวิธีรักษาในกรณีที่คนไข้มีช่องว่างในการเรียงฟันไม่เพียงพอ เป็นเทคนิคที่นำมาใช้สำหรับการจัดฟัน โดยที่ทันตแพทย์จะทำการเพิ่มพื้นโดยการกรอฟันด้านข้างซึ่งเล็กมากเพียง 0.25 มิลลิเมตร เท่านั้น ปกติแล้วพื้นที่บริเวณด้านข้างของฟันมีความหนาถึง 2.5 มิลลิเมตร ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ คุณจึงไม่จำเป็นต้องกังวลใดๆ การทำ IPR เป็นที่นิยมกว่าการถอนฟัน เนื่องจากทันตแพทย์สามารถควบคุมขนาดพื้นที่ ที่ต้องการ หากจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากกว่าการกรอฟัน ทันตแพทย์ก็อาจเลือกทำการถอนฟันแทนได้ IPR มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ทันตแพทย์จะใช้อุปกรณ์ทันตกรรมขูดเคลือบฟันด้านข้างของคุณออก อีกทางหนึ่ง คือ ทันแพทย์ของคุณอาจจะทำการตะไบด้านข้างของฟัน คุณไม่ต้องตกใจหากคุณมองเห็นช่องว่างระหว่างฟันหลังจากทำ IPR […]

คิดไม่ตก.. จัดฟันก่อนหรือตัดแต่งเหงือกแก้อันไหนก่อนดี?

รูปภาพเหงือกและฟัน

คนไข้ถามเข้ามาเยอะ ว่าจัดฟันอยู่ ตัดเหงือกได้มั้ย? “หมอก็จะตอบว่า ตัดได้ค่ะ อยู่ที่ปัญหาและความจำเป็นที่ต้องทำ” ทำไมตอนจัดฟัน เหงือกมักจะเยอะขึ้น? เพราะตอนจัดฟัน ถ้ามีการเคลื่อนฟัน ฟันเปลี่ยนตำแหน่ง เหงือกก็เปลี่ยนตาม โดยเฉพาะในคนไข้ที่ ฟันห่าง หรือฟันยื่นมากๆ เมื่อดึงฟันเข้ามาปิดช่องห่าง หรือปิดช่องที่ถอน ทำให้ความกว้างของช่วงฟันแคบลง แต่เนื้อเหงือกนั่นเหลืออยู่เท่าเดิม เหงือกจึงมีที่อยู่น้อยลง ก็เลยทำให้เหลือเหงือกที่ไม่ได้ใช้ มันก็ลงมาบังฟัน นั่นเอง บวกกับตอนจัดฟัน เครื่องมือนั่น ก็ระคายเคืองเหงือก อีกทั้งมีหินปูน หรือคราบพลัค ขึ้นได้ง่าย เลยทำให้มีเหงือกบวม เหงือกอักเสบง่ายกว่าภาวะปกติ นั่นเลยเป็นสาเหตุ ให้คนไข้ที่จัดฟันจำนวนหนึ่ง มีเหงือกเยอะขึ้นได้ ในช่วงจัดฟัน ประเมินฟันฟรีคลิก! ตัดเหงือกที่มาบังฟันในช่วงจัดฟัน ควรทำตอนไหนดี ? ถ้าจัดฟันใกล้จะเสร็จแล้ว และเหงือกนั่นไม่ได้รบกวนการใส่รีเทนเนอร์ ก็แนะนำรอให้ถอดก่อน ค่อยตัด เพราะจะดูแลง่ายกว่า แต่บางเคสก็จำเป็นต้องตัดในช่วงจัดฟันเลย ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุ เช่น เหงือกบวม ทำให้ทำความสะอาดลำบาก เหงือกอักเสบ เหงือกรบกวนการจัดฟัน ทำให้ใส่เครื่องมือ หรือใส่ยางได้ยาก เหงือกเยอะ จนมีผลทำให้ใส่รีเทนเนอร์ไม่ได้ ต้องตัดก่อนใส่รีเทนเนอร์ เหงือกเยอะ เหงือกมาก […]

เตรียมตัวจัดฟันต้องทำอะไรบ้าง เตรียมเงินเท่าไหร่?

ผู้หญิงกำลังทำหน้าคิดสงสัย

เตรียมตัวจัดฟันต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนไหนมีค่าใช้จ่าย ขั้นตอนไหนไม่มีค่าใช้จ่าย เคยไหมเวลาที่เราอยากจัดฟัน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง แล้วจัดฟันแบบไหนจะเหมาะกับเรา ค่าใช้จ่ายจะเกินงบไหม สารพัดคำถามที่เรากังวลใจเกี่ยวกับการจัดฟัน ซึ่งวันนี้หมอจะมาอธิบายการเตรียมตัวก่อนการจัดฟันกันนะครับ 1. เลือกการจัดฟันที่เหมาะสมกับเรา ก่อนอื่นเลยการเตรียมตัวจัดฟันคือ เราจำเป็นต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าฟันของเรามีปัญหาอะไรบ้าง ทำไมถึงอยากจัดฟัน และอยากจัดฟันแบบไหน เช่น การจัดฟันเหล็ก การจัดฟันแบบใส เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื่องจากการจัดฟันแต่ละแบบมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่น การมองเห็นอุปกรณ์จัดฟัน การทำความสะอาดฟันหลังเริ่มต้นจัดฟัน ความบ่อยในการพบหมอ ความสะดวกสบายในการจัดฟันและค่าใช้จ่าย เป็นต้น แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ว่าจัดฟันแบบไหนดี แนะนำว่าลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน เผื่อคุณหมอจะได้แนะนำว่าเราเหมาะกับแบบไหนครับ (ส่วนใหญ่ขั้นตอนนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ) การจัดฟันเหล็ก อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum การจัดฟันใสของเซนยุม มีบริการพิเศษอีกช่องทางหนึ่ง คือเราสามารถส่งรูปฟันให้คุณหมอช่วยประเมินได้ ว่าสามารถจัดฟันใสได้หรือไม่ เพียงแค่ใช้กล้องมือถือของเราถ่ายเองได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปที่คลินิก ประเมินฟันฟรีคลิกเลย 2. หาคลินิกจัดฟันและปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกคลินิกที่สะอาดได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ มีตัวอย่างเคสรีวิวการจัดฟัน การเดินทางสะดวก มีที่จอดรถเพียงพอ และ เวลาที่เราสะดวกตรงกับคุณหมอ จากนั้นจึงทำนัดเพื่อปรึกษาเรื่องจัดฟันกับคุณหมอและคุณหมอจะได้ตรวจฟันอย่างละเอียด โดยขั้นตอนนี้เราสามารถแจ้งคุณหมอได้เลยว่าเราอยากแก้ตรงไหน ตรงไหนเป็นจุดกังวลมากที่สุด […]

ถอนฟันกรามอันตรายไหมและจะส่งผลอะไรหรือเปล่า?

ภาพโมเดลฟัน

หากเราถอนฟันกรามทิ้งจะเป็นอันตรายไหมและจะส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันกรามนั้นมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งถ้าหากเราถอนฟันกรามไปเราก็จะสูญเสียฟันที่มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารไปด้วย ซึ่งตำแหน่งฟันกรามที่คนมักจะสูญเสียไปมากที่สุดนั่นคือฟันกรามใหญ่แท้ซี่แรก ทั้งนี้ เนื่องจากฟันซี่นี้ขึ้นตอนอายุ 6 ขวบ ซึ่งในผู้ปกครองบางท่าน ก็อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าฟันซี่นั้นของลูกเป็นฟันแท้แล้ว จึงไม่ได้ดูแลตามความเหมาะสม แต่ที่ถูกที่ควรแล้วผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกๆ ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ต่อมาเมื่อฟันน้ำนมขึ้นก็จำเป็นต้องดูแลไม่ให้ผุ เพื่อฟันแท้จะได้ขึ้นอย่างสมบูรณ์ต่อไป ถ้าหากฟันกรามถูกถอนไปแล้วนั้น ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันทดแทนหรือจัดฟันปิดช่องว่างนั้น ประเด็นสำคัญประการหนึ่งเลยคือ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ฟันกรามมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าสูญเสียไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลง ส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยร่วมแย่ลงได้ ประเมินฟันฟรี! ประเด็นต่อมา คือ ถ้าหากมีช่องว่างของฟันภายในช่องปาก เมื่อปล่อยทิ้งไปสักระยะหนึ่ง ฟันจะเริ่มขยับเข้าหาช่องว่างนั้น อาจเรียกง่ายๆ ว่า ฟันล้ม ทำให้ฟันมีการสบกระแทก ฟันสึก มีโรคเหงือกตามมา หรือแม้กระทั่งในบางรายอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่อื่นๆ ตามไปด้วย มีกรณีที่แนะนำให้ถอนฟันหรือไม่? ในกรณีที่คนไข้มีฟันซ้อนเกค่อนข้างมาก จนไม่มีพื้นที่ให้ฟันในช่องปากเคลื่อนที่เพื่อจัดเรียงตัว ก็มีความจำเป็นที่ต้องถอนฟันบางซี่ออกเพื่อให้ฟันมีพื้นที่ในการขยับจัดเรียงตัว โดยทั่วไปแล้วจะถอนฟันกรามน้อยซี่แรก (ฟันหลังเขี้ยว) ซึ่งจะถอนฟันซี่ใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของทันตแพทย์แต่ละท่าน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง? สำหรับการดูแลรักษา ก็จะเป็นการทำความสะอาดช่องปากปกติที่ทำกันทุกวัน คือ […]

จัดฟันหรือเสริมจมูก ทำอะไรก่อนดี?

ผู้หญิงยิ้มและนิ้วแตะจมูก

ถ้าหากต้องการจัดฟันพร้อมกันกับเสริมจมูก ควรเลือกทำอันไหนก่อน หรือสามารถทำพร้อมกันได้ไหม? โดยปกติแล้วการจัดฟันกับการเสริมจมูกนั้นสามารถทำไปพร้อมๆ กันได้ แต่ส่วนตัวจะไม่แนะนำให้ทำพร้อมกัน เนื่องจากตำแหน่งของการเสริมจมูกหลังจากแผลหายสมบูรณ์แล้วนั้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์ในตำแหน่งที่แม่นยำได้ยาก ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนการรักษาจัดฟัน ฉะนั้นความคิดเห็นส่วนตัว แนะนำว่าให้เราชั่งใจดูว่าเราอยากแก้ปัญหาในเรื่องไหนก่อน แล้วทำการรักษาในเรื่องนั้นก่อน เนื่องจากการรักษาทั้งการเสริมจมูกและการจัดฟันในปัจจุบันใช้เวลาไม่ได้นานมาก ยิ่งในปัจจุบันมี เทคโนโลยีในการจัดฟันใส ทำให้การรักษาด้วยการจัดฟันนั้นใช้ระยะเวลาสั้นลงไปอีก ในกรณีที่แก้ปัญหาไม่มาก อาจจะใช้เวลาในการทำการรักษาโดยการจัดฟันใสไม่ถึง 6 เดือนด้วยซ้ำ ทำให้เวลาไม่ใช่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่จะเสริมจมูกหรือจัดฟันก่อนกัน อยากให้นึกถึงปัญหาที่เราอยากแก้ก่อนจริงๆ แล้วเลือกลำดับการรักษาตามปัญหานั้นๆ ประเมินฟันฟรี! อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum มีข้อควรระวังอะไรไหม? ถ้าจะพิจารณาในส่วนของข้อควรระวังในการรักษาจัดฟันกับการเสริมจมูกที่เกี่ยวข้องกันนั้น หลักๆ ก็จะมีเรื่องการวางแผนการรักษา เนื่องจากหากเรามาวางแผนการรักษาในการจัดฟันก่อนการเสริมจมูก แผนการรักษานั้นอาจจะเข้ากันพอดีกับทรงของจมูกของคนไข้ในตอนนั้น ถ้าหากไปเสริมจมูกอาจทำให้ฟันดูงุ้มไม่สวยงามได้ หรือถ้าเราไปเสริมจมูกมาแล้วมาวางแผนการจัดฟันในช่วงที่จมูกยังไม่หายดี แผนการจัดฟันนั้นอาจเข้ากับจมูกตอนนั้น ซึ่งจมูกอาจจะบวมอยู่ แต่เมื่อแผลของการเสริมจมูกหายดีแล้ว ฟันที่จัดเสร็จอาจจะดูยื่นกว่าที่ควรจะเป็นได้ ฉะนั้นส่วนตัว จึงแนะนำให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจะดีกว่าครับ บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค เริ่มต้นจัดฟันใส เสริมความมั่นใจให้รอยยิ้ม ประเมินฟัน ฟรี!

ฟันล้มหลังจัดฟัน ทำยังไงดี?

สาเหตุของการเกิดฟันล้มหลังจากจัดฟัน เกิดจากอะไร? สำหรับสาเหตุของการเกิดฟันล้มหลังจากจัดฟันนั้น ถ้าให้พูดเข้าใจได้ง่ายๆ เลย คือ ไม่ใส่รีเทนเนอร์หรือเครื่องมือคงสภาพฟันนั้นเอง ก่อนอื่นเลยต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันในตำแหน่งที่ก่อนจัดฟันนั้น เป็นตำแหน่งของฟันตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสมดุลกันระหว่างแรงทุกแรงที่เกิดขึ้นในช่องปาก เช่น แรงจากการขยับลิ้น แรงจากริมฝีปาก เป็นต้น การจัดฟันหรือการเคลื่อนฟันนั้นเป็นการฝืนธรรมชาติ ฉะนั้นเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว เราจึงจำเป็นต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือรีเทนเนอร์ไว้ เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ไม่เช่นนั้น ฟันจะเคลื่อนที่ไปตำแหน่งที่แรงสมดุลกันนั้นเอง ซึ่งอาจจะเป็นตำแหน่งที่ฟันซ้อนเก หรือฟันยื่นก็เป็นได้ ประเมินฟันฟรี! ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอะไรหรือไม่? การปล่อยให้ฟันล้มหลังจากการจัดฟันดำเนินต่อไป อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ฟันก็จะเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่แรงสมดุลกัน ซึ่งเป็นการยากที่จะบอกว่าตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งใด แต่ที่บอกได้แน่นอนคือว่า โดยมากแล้วจะไม่ใช่ตำแหน่งที่ฟันเรียงสวยหลังจากการจัดฟันเสร็จ ต้องรีบพบทันตแพทย์หรือไม่ และมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร? การแก้ปัญหาฟันล้ม หลังจากการจัดฟันนั้น ยิ่งตัวคนไข้เองสังเกตได้เร็ว หรืออาจจะถูกทันตแพทย์ทักเมื่อไปขูดหินปูนทำความสะอาดฟันก็ตาม และรีบแก้ปัญหา การแก้ปัญหานั้นก็จะง่ายกว่าปล่อยไว้เป็นเวลานาน คนไข้อาจจะสูญเสียเนื้อฟันน้อยลง เนื่องจากหากเกิดฟันล้มลักษณะซ้อนเกในกรณีคนไข้เคยถอนฟันไปตอนจัดฟันครั้งแรกแล้วนั้น การแก้ปัญหาฟันล้มจำเป็นจะต้องกรอเนื้อฟันเพื่อให้มีพื้นที่ให้ฟันเคลื่อนที่ อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum วิธีการแก้ปัญหาฟันล้ม หลังจากการจัดฟันก็ คือการจัดฟันอีกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีการปกติทั่วไปที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาฟันล้ม และในปัจจุบันมีเทคโนโลยีจัดฟันใส ทำให้การจัดฟันครั้งที่สองหรือการจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาฟันล้มหลังจากจัดฟันไปแล้วนั้นสะดวกมากขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วคนไข้ที่เคยจัดฟันมาแล้วนั้นจะเคยจัดฟันแบบเหล็กติดแน่นเมื่อตอนเด็กๆ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยทำงานเกิดฟันล้ม แต่ไม่สะดวกที่จะติดเหล็กแล้ว การจัดฟันใส ก็จะเข้ามาแก้ปัญหาและตอบโจทย์ในเรื่องนี้ […]

จัดฟันตอนอายุ 30+ ขึ้นไปได้ไหม?

หากอยากจัดฟันตอนอายุ 30+ สามารถทำได้ไหม มีข้อกังวลตรงไหนไหม และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? สำหรับการจัดฟันตอนอายุ 30+ ขึ้นไปนั้น สามารถทำได้ ไม่ได้มีปัญหาหรือข้อกังวลอะไรมากนัก แต่สิ่งที่ต้องทราบเบื่องต้นก็คือ เมื่อเราอายุมากขึ้นกระดูกจะมีความแข็งมากกว่าตอนวัยรุ่น ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของฟันนั้นจะช้ากว่าตอนวัยรุ่น ซึ่งหมายความว่าการจัดฟันจะต้องใช้เวลานานขึ้นเมื่อเทียบกับตอนวัยรุ่น รวมถึงการเกิดเหงือกร่นระหว่างจัดฟัน หรือหลังจัดฟันเสร็จ ทั้งที่ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการรักษาความสะอาด และสุขภาพช่องปากของแต่ละท่านด้วย ประเมินฟันฟรี! เข้าพบทันตแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวม การเตรียมตัว สำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟันที่มีอายุ 30+ ขึ้นไป จะไม่ได้แตกต่างจากช่วงอายุอื่น กล่าวคือ เมื่อเข้าพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวม และวางแผนการรักษาเบื่องต้น จากนั้นถ้าหากคนไข้จำเป็นที่จะต้องมีการอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุดก่อนการจัดฟัน ก็ควรทำให้เรียบร้อยก่อน เนื่องจากถ้าหากจัดฟันแบบติดเหล็กจะส่งผลให้ฟันผุหรือเหงือกอักเสบง่ายขึ้นยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากจัดฟันแบบใส การจัดฟันแบบใสเป็นการเก็บข้อมูลและทำแบบจำลองจากข้อมูลของฟันที่เก็บข้อมูลไป ณ วันเริ่มต้น ฉะนั้นการทำหัตถการอื่นๆ ภายหลังจากการเก็บข้อมูลไปแล้ว อาจส่งผลให้ชิ้นงานจัดฟันใสใส่ไม่ตรงตำแหน่งที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดฟันลดลง และอาจจำเป็นต้องเก็บข้อมูลและเริ่มวางแผนการรักษาใหม่ บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค […]

IPR หรือ การกรอฟัน คืออะไร เจ็บไหม ปลอดภัยหรือเปล่า?

ภาพฟัน

Q: IPR คืออะไร? A: IPR (Interproximal reduction) คือ การลดขนาดของฟันด้านประชิด เป็นวิธีรักษาในกรณีที่คนไข้มีช่องว่างในการเรียงฟันไม่เพียงพอ Q: IPR ทำอย่างไร? A: ทำโดยการกรอผิวเคลือบฟัน (Enamel) ตั้งแต่ 0.1-1 ม.ม. Q: IPR เจ็บหรือเปล่า? A: เนื่องจากเคลือบฟันไม่มีเส้นประสาท ทำให้ไม่มีอาการจ็บ แต่อาจมีอาการเสียวฟันเล็กน้อยซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่นาน ประเมินฟันฟรีคลิก! Q: IPR ปลอดภัยหรือไม่? A: มีผลการวิจัยว่าการทำ IPR ไม่มีอันตราย ไม่มีความเสี่ยงในการทำให้ฟันผุ หรือโรคปริทันต์อักเสบ Q: IPR ทำให้ฟันห่างหรือไม่? A: เนื่องจากการทำ IPR ทันตแพทย์มีการกรอฟันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ถ้าไม่สังเกตุจริงๆ ก็จะไม่เห็นช่องว่างที่เกิดขึ้น ซึ่งช่องว่างจะค่อยๆ เล็กลง และปิดเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว นอกจากนี้กรณีฟันคนไข้ที่มีรูปร่างผิดปกติ ใหญ่เกินไป หรือมีช่องสามเหลี่ยมระหว่างฟันหน้า (Black Triangle) ก็สามารถ IPR […]

รวมคลินิกจัดฟันใสใกล้ BTS

จัดฟันใสที่ไหนดี? คงเป็นคำถามสำหรับทุกคนที่อยากจัดฟันแน่ๆ เพราะการจัดฟันใสเป็นการรักษาการเรียงตัวของฟัน และสร้างรอยยิ้มให้สวยงาม ซึ่งต้องทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันใสเท่านั้น ดังนั้นการเลือกสถานที่ในการจัดฟันใสจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกอย่างนึง และแน่นอนว่าหลายๆคนคงเคยค้นหา”คลินิกจัดฟันใกล้ฉัน” ตามหน้ากูเกิลมาบ้างแต่จะรู้ได้อย่างไรว่าใกล้แล้วจะเชื่อถือได้หรือเปล่า วันนี้…ทางเซนยุมก็เลยจะมาแนะนำคลินิกจัดฟันใสใกล้ BTS ที่เชื่อถือได้มาให้เพื่อนๆได้ทำความรู้จักและลองเลือกเข้าไปใช้บริการกันนะคะ About tooth Dental Clinic – BTS สยาม และ BTS ปุณณวิถี นอกจากคลินิกจะให้บริการด้านทันตกรรมอย่างมีมาตรฐาน และครบวงจรแล้ว ยังมีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญในการรักษาอีกด้วย ทำให้ผู้รับบริการมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ คลินิกตั้งอยู่ใจกลางเมืองและยังเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าวัยรุ่นในทุกยุคทุกสมัย เดินทางสะดวก มีทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์หลายสายที่ผ่าน ทำให้เพื่อนที่มาใช้บริการไม่ได้รู้สึกว่ามาหาหมอแต่อย่างใด เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันทั้งในคลินิกและพื้นที่โดยรอบ อีกทั้งบรรยากาศภายในคลินิกยังช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย พิกัด : อาคาร SIAMSCAPE ชั้น 8 สถานีรถไฟฟ้า BTS  สยาม, อาคาร ทรู ดิจิทัล พาร์ค ชั้น 2 ลงสถานีรถไฟฟ้า BTS ปุณณวิถี เวลาทำการ : จันทร์ – อาทิตย์ […]

แผลในปาก รุนแรงได้แค่ไหน แก้ไขอย่างไรให้หายขาด

แผลในปาก มักเป็นปัญหาที่หลายๆ คนรู้สึกรำคาญใจ ทำให้กินอาหารไม่อร่อย เพราะเจ็บเหงือก เจ็บปาก เจ็บลิ้น ฯลฯ หมอเชื่อว่า หลายท่านคงเคยเป็นแผลในปากมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องแผลในปากกันค่ะ แผลในปาก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในที่นี้เราจะพูดถึงแผลในปากที่ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้านะคะ และหมอจะพูดถึงการป้องกันและรักษาไปพร้อมกันเลย สาเหตุการเกิดแผลในปากและการป้องกันดูแลรักษา 1.การกระทบกระแทกแล้วเกิดแผล เช่น เพิ่งเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ แล้วใช้แรงในการแปรงแรงไปนิด, การรับประทานอาหารที่แข็ง แล้วครูดเหงือก เช่น กัดก้ามปู ก้างปลาทิ่มเหงือก, การรับประทานอาหารร้อนจัด จนลวกปาก รวมไปถึงการใส่ฟันปลอมแล้วกดทับหรือครูดกับเหงือก เป็นต้น การป้องกันและรักษา ในกรณีแผลเกิดจากการกระแทกนี้ สามารถเริ่มที่ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร อย่าใช้ฟันกัดของที่แข็งจนเกินไป จนฟันแตกบิ่น หรือส่วนที่แข็งไปจิ้มเหงือก, ถ้าอาหารร้อนจัดก็เป่าก่อน หรือรอให้เย็นลงสักนิด ก่อนที่จะกินหรือดื่ม ถ้ากรณีรอยแผลเกิดจากฟันปลอม หมอแนะนำว่า ให้กลับไปพบหมอคนเดิมที่เป็นผู้ใส่ฟันปลอมให้ (ถ้าอยู่ไม่ไกลจนเกินไป) หรือหมอท่านอื่น และให้ไปในช่วงที่ยังมีรอยแผลอยู่ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่า ตำแหน่งที่ฟันปลอมกดหรือครูดเหงือกอยู่ตรงไหน จะทำให้สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น 2. ฟันสึกมาก ฟันแตก หรือวัสดุอุดฟันหลุด รวมไปถึงการเคี้ยวไปถูกกระพุ้งแก้มด้านใน ซึ่งเมื่อฟันเกิดขอบคมที่บาดลิ้นเป็นแผล ท่านสามารถสังเกตได้ว่า ลิ้นจะคอยไปเขี่ยอยู่เสมอจนเป็นแผล […]

ตั้งครรภ์ จัดฟันใสได้ไหม

“กำลังตั้งครรภ์” สามารถจัดฟันได้หรือไม่ เป็นคำถามที่คุณแม่ทุกคนอยากจะทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ถ้าเราจัดฟันในระหว่างการตั้งครรภ์จะส่งผลต่อลูกท้องหรือไม่ วันนี้หมอเบลล์มีคำตอบมาฝากค่ะ สิ่งที่เราคำนึงและให้ความสำคัญที่สุดของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ ทารกในท้อง โดยในปัจจุบันทางการแพทย์ไม่มีข้อห้ามในการจัดฟัน สำหรับผู้ตั้งครรภ์ แต่ในกระบวนการจัดฟันนั้น ต้องมีการเตรียมช่องปากให้พร้อมก่อนจัดฟัน และการเอกซเรย์ เพื่อวางแผนการจัดฟัน โดยการเตรียมช่องปากนั้นหากจะให้ปลอดภัยที่สุดควรเว้นช่วงไตรมาสแรกไปก่อนค่ะ ช่วงที่ดีที่สุดในการทำฟัน ไม่ว่าจะอุดฟัน ขูดหินปูน หรือถอนฟันจะเป็นช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากไตรมาสแรกคุณแม่บางท่านจะมีอาการแพ้ท้อง และอาเจียนบ่อย การทำฟันอาจไปกระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียนมากขึ้น ส่วนในไตรมาสที่3นั้น การเคลื่อนไหวของคุณแม่จะลำบากเนื่องจากท้องใหญ่แล้ว ไม่เอื้ออำนวยต่อการนั่งหรือนอนบนเก้าอี้ทำฟันในเวลานาน การเอกซเรย์เพื่อนำไปวางแผนการจัดฟันนั้น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยเนื่องจากรังสีที่ใช้เป็นปริมาณที่น้อยมากๆ แต่หากคุณแม่กังวล สามารถเลื่อนไปทำการรักษาหลังคลอดบุตรได้ค่ะ อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum ในส่วนของการจัดฟันใสนั้น อุปกรณ์จัดฟันเป็นพลาสติกเกรดที่ปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูกในท้อง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจึงไม่ต้องกังวลค่ะ แต่การใส่เครื่องมือจัดฟันใสในช่วงที่ตั้งครรถ์ไตรมาสแรก อาจกระตุ้นอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ในคุณแม่ที่แพ้ท้อง หากมีอาการดังกล่าวให้งดใส่ไปก่อนค่ะ แล้วเมื่ออาการดีขึ้นค่อยเริ่มใส่ชิ้นงานต่อค่ะ กล่าวโดยสรุป คือ หากคุณแม่เป็นคนไข้ที่จัดฟันอยู่แล้ว สามารถจัดฟันต่อได้เลยค่ะ แต่หากกำลังพิจารณาตัดสินใจจะจัดฟัน ให้เว้นช่วงไตรมาสแรกไปก่อน เพื่อความปลอดภัยที่สุดของทารกในท้องค่ะ บทความโดย คุณหมอเบลล์ ทันตแพทย์หญิง ณัฐพร คงคาลัย คลินิกทันตกรรม The Happy […]

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!