หินปูนคืออะไร เจ็บไหม แล้วทำไมถึงต้องทำ??

ขูดหินปูนคือะไร เจ็บไหม แล้วทำไมถึงต้องทำ หลายคนคงเคยเสียความมั่นใจไปกับรอยยิ้มใช่ไหมคะ เจอใครก็ไม่กล้ายิ้มทักทายเพราะฟันเหลือง มีกลิ่นปาก อันมีสาเหตุมาจากคราบหินปูนหรือหินน้ำลายจากคราบจุลินทรีย์หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าขี้ฟันนั้นเอง แต่…อย่าเพิ่งหมดหวังไปค่ะ การขูดหินปูนช่วยได้ เราไปดูกันค่ะว่าการขูดหินปูนจะช่วยเพื่อนๆได้กลับมามีฟันขาวและลมหายใจที่หอมได้อีกครั้งได้อย่างไร คราบหินปูนนั้นมาจากการเชื้อแบคทีเรียในปาก และขี้ฟันที่อยู่กับเรามาระยะนึงจนเกิดการแข็งตัวจากการตกตะกอนในน้ำลายของเราจนเกิดเป็นคราบหินปูน เมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะของทันตแพทย์เท่านั้นในการทำความสะอาด เนื่องจากหินปูนมีความแข็งและเหนียว ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันด้วยได้ คราบหินปูนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าจะดูแลทำความสะอาดฟันได้ดีมากแค่ไหนก็ตาม เพราะเป็นเรื่องยากที่กำจัดเชื้อแบคทีเรีย และเศษอาหารออกไปจากในช่องปากของเราได้ 100% ดังนั้นเราจึงต้องทำการขูดหินปูนอยู่เสมอ ขูดหินปูนคืออะไร แล้วทำไมต้องขูดด้วยล่ะ การขูดหินปูนจะช่วยทำความสะอาดฟันและช่องปากได้ดียิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคปริทันต์ ไม่ว่าจะเป็นอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ รากฟันอักเสบ หรือแม้กระทั่งมะเร็งในช่องปาก ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการยิ้ม และช่วยเสริมบุคลิกของเราให้ดีขึ้น ขจัดปัญหาฟันเหลือง ฟันดำให้หมดไป ช่วยยืดอายุฟันให้อยู่กับเราได้นานขึ้น และลดโอกาสการฟันผุหรือเหงือกร่นได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้สำหรับคนที่จะทำการจัดฟันทุกคนจะต้องทำการเคลียช่องปากก่อนเริ่มจัดฟัน โดยการขูดหินปูนทุกคนอีกด้วย เพื่อทำความสะอาดผิวฟันก่อนติดอุปกรณ์จัดฟัน ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียในช่องปาก ขูดหินปูนเจ็บไหม โดยปกติแล้วการขูดหินปูนทั้งปากจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ขึ้นอยู่กับ ปริมาณและความเหนียว ของหินปูนที่ยึดติดกับตัวฟัน อาจมีอาการเจ็บหรือเสียวฟันบ้างเล็กน้อย อาจมีเลือดออกขณะขูดหินปูนร่วมด้วยก็ได้ ถือเป็นเรื่องปกติและสามารถหายได้เอง แต่หากหลังขูดหินปูนแล้วเลือดยังไม่หยุดไหลก็จำเป็นต้องรีบปรึกษาทันแพทย์เพื่อทำการป้องกันและรีบรักษา ขูดหินปูนราคาเท่าไหร่ ราคาขูดหินปูนของแต่ละคลินิกจะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วราคาขูดหินปูนจะอยู่ที่ ประมาณ 700 […]

ไขข้อข้องใจ จัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยนจริงหรือไม่?

ไขข้อข้องใจ จัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยนจริงหรือไม่? หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “จัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยน จมูกโด่งขึ้น หน้าเรียวขึ้น” จึงเป็นสาเหตุทำให้หลายๆคนอยากจัดฟันกันมากขึ้นเพราะเชื่อว่าจะได้รูปหน้าที่สวยขึ้นโดยไม่ต้องไปทำศัลยกรรม แต่แค่การจัดฟันอย่างเดียว จะช่วยให้สวยครบสูตรได้จริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ ว่าการจัดฟันแล้วหน้าเรียว หน้าเปลี่ยนจริงได้หรือไม่ การจัดฟันจริงๆแล้วคือการรักษาฟันที่ไม่เรียงตัวเป็นระเบียบ โดยการใช้เครื่องมือช่วยเคลื่อนฟันไปยังตําแหน่งที่เหมาะสม โดยทันตแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้วินิจฉัยดูลักษณะของฟันว่าจำเป็นต้องจัดฟันหรือไม่ และควรจะเลือกจัดฟันแบบใด การจัดฟันยังช่วยให้ฟันทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวที่ดีขึ้น ฟันเรียงตัวสวยงามเป็นระเบียบ ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ดังนั้นเป้าหมายของการจัดฟันที่แท้จริงก็คือการทำให้มีรอยยิ้มสวยงาม พร้อมๆ กับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง จัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยนได้จริงหรือไม่? การจัดฟันที่จะทำให้ใบหน้าเปลี่ยน หน้าเรียว จมูกโด่งนั้นเป็นไปได้จริง แต่….ไม่ได้เกิดกับทุกคนนะคะ เป็นไปได้เฉพาะในบางคนเท่านั้น เช่น คนที่ก่อนจัดฟันจะมีปัญหาฟันยื่นเหยินมากจนริมฝีปากอูมไปตามฟันที่ยื่นออกมาแล้วได้รับการจัดฟันโดยการถอนฟัน หลังจัดฟันอาจจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกร ทำให้คางดูเด่นชัดขึ้น ใบหน้าดูยาวขึ้น และยังส่งผลให้เห็นสันจมูกได้ชัดเจนขึ้น เมื่อฟันกรามถูกกถอนออกบางส่วนและดึงให้เข้ามาชิด กัน จึงทำให้ใบหน้าดูตอบลงจะเห็นสันจมูกพุ่งขึ้นอีกนั่นเอง นี่จึงเป็นกระบวนการที่ส่งผลให้ดั้งจมูกดูโด่งขึ้น จนอาจทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดว่าเราไปทำศัลยกรรมเสริมจมูกมากันเลยทีเดียวค่ะ เมื่อรู้แล้วว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้หน้าเรียว จมูกโด่งหลังจัดฟัน แต่จะมีกรณีไหนบ้างที่อาจทำให้หน้าเปลี่ยน เรามาดูกันค่ะ กรณีฟันล่างครอบฟันบน (Underbite) เมื่อฟันล่างยื่นออกมามากจนเลยฟันหน้า ทำให้คางยื่น กรณีแบบนี้ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการจัดฟันได้อย่างชัดเจน กรณีฟันบนครอบฟันล่าง (Overbite) เมื่อฟันบนยื่นออกมามากจนครอบฟันล่าง หลังการจัดฟันแล้ว ขากรรไกรสบกันในตำแหน่งที่เหมาะสม รูปหน้าและขากรรไกรก็จะสวยขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน กรณีฟันสบเปิด […]

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!